1,700 ปีที่แล้ว: ยุคเหล็ก ของ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไทย

ยุคเหล็กเป็นยุคที่เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆถูกสร้างขึ้นด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ การทำเครื่องมือจากเหล็กสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอื่นๆ บางแห่ง เช่น วิธีการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ ความเชื่อทางศาสนา หรือศิลปะ อย่างไรก็ตามสังคมบางแห่งไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไป

แหล่งโบราณคดีในประเทศไทยเช่น โนนนกทา ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี ถ้ำองบะ และบ้านดอนตาเพชร แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการใช้เหล็กในช่วง 3,400 ถึง 1,700 ปีก่อน

การตั้งถิ่นฐานในยุคเหล็กในประเทศไทย

  • โนนนกทา

โนนนกทาเป็นแหล่งโบราณคดีในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 1420 ถึง 50 ปีก่อนคริสตศักราช

  • ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรี

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ลพบุรีเป็นแหล่งโบราณคดีในอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 1225 ถึง 700 ปีก่อนคริสตศักราช

  • ถ้ำองบะ

ถ้ำองบะเป็นแหล่งโบราณคดีในอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 310 ถึง 150 ปีก่อนคริสตศักราช

  • บ้านดอนตาเพชร

บ้านดอนตาเพชรเป็นโบราณสถานใน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ทางตะวันตกของประเทศไทย มีอายุตั้งแต่ 24 ปีก่อนคริสตศักราช ถึงค.ศ. 276 โบราณวัตถุจำนวนมากที่พบในสุสานสมัยคริสตศตวรรษที่ 4 ถูกนำมาจากอินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยการติดต่อค้าขาย สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ได้แก่ เครื่องประดับทรงหกเหลี่ยมแบน รูปปั้นหินรูปสิงโตและเสือขนาดเล็ก และภาชนะโลหะต่างๆ [14]

ใกล้เคียง

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในมาเลเซีย ยุคก่อนโรมาเนสก์ ยุคกลางตอนต้น ยุคกลาง ยุคกรีกโบราณ ยุคกลางตอนปลาย ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการอพยพ